บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2018

เฉลย

เฉลย 1)พอลิเมอร์ที่มีโครงสร้างแบบใดเมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว แต่เมื่ออุณหภูมิลดลงจะแข็งตัวได้เหมือนเดิม ? ก.โครงสร้างแบบกิ่ง ข.โครงสร้างแบบเส้น ค.โครงสร้างแบบร่างแห ง.โครงสร้างแบบกิ่งและแบบเส้น✔ 2)พอลิเมอร์ที่มีโครงสร้างแบบใดเมื่อได้รับความร้อนจะไม่หลอมและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ ? ก.โครงสร้างแบบกิ่ง ข.โครงสร้างแบบเส้น ค.โครงสร้างแบบร่างแห✔ ง.โครงสร้างแบบกิ่งและแบบเส้น 3)พอลิเมอร์ของเทอร์มอพลาสติกมีโครงสร้างแบบใด ? ก.โครงสร้างแบบกิ่ง ข.โครงสร้างแบบเส้น ค.โครงสร้างแบบร่างแห ง.โครงสร้างแบบกิ่งและแบบเส้น✔ 4)เพราะเหตุใดพลาสติกเทอร์มอเซต เมื่อขึ้นรูปด้วยการผ่านความร้อนหรือแรงดันแล้วจะไม่สามารถนำกลับมาขึ้นรูปใหม่ได้อีก ? ก.เพราะพอลิเมอร์มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่โมเลกุลแบบกิ่ง ข.เพราะพอลิเมอร์มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่โมเลกุลแบบเส้น ค.เพราะพอลิเมอร์มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่โมเลกุลแบบร่างแห✔ ง.เพราะพอลิเมอร์มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่โมเลกุลแบบกิ่งและแบบเส้น 5)เส้นใยชนิดใดต่อไปนี้ที่เกิดราได้ง่าย ? ก.ฝ้าย✔ ข.เรยอน ค.เส้นไหม ง.ลินิน และป่าน 6)พืชชนิดใดที่สามารถ...

คำถาม

คำถาม 1)พอลิเมอร์ที่มีโครงสร้างแบบใดเมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว แต่เมื่ออุณหภูมิลดลงจะแข็งตัวได้เหมือนเดิม ? ก.โครงสร้างแบบกิ่ง ข.โครงสร้างแบบเส้น ค.โครงสร้างแบบร่างแห ง.โครงสร้างแบบกิ่งและแบบเส้น 2)พอลิเมอร์ที่มีโครงสร้างแบบใดเมื่อได้รับความร้อนจะไม่หลอมและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ ? ก.โครงสร้างแบบกิ่ง ข.โครงสร้างแบบเส้น ค.โครงสร้างแบบร่างแห ง.โครงสร้างแบบกิ่งและแบบเส้น 3)พอลิเมอร์ของเทอร์มอพลาสติกมีโครงสร้างแบบใด ? ก.โครงสร้างแบบกิ่ง ข.โครงสร้างแบบเส้น ค.โครงสร้างแบบร่างแห ง.โครงสร้างแบบกิ่งและแบบเส้น 4)เพราะเหตุใดพลาสติกเทอร์มอเซต เมื่อขึ้นรูปด้วยการผ่านความร้อนหรือแรงดันแล้วจะไม่สามารถนำกลับมาขึ้นรูปใหม่ได้อีก ? ก.เพราะพอลิเมอร์มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่โมเลกุลแบบกิ่ง ข.เพราะพอลิเมอร์มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่โมเลกุลแบบเส้น ค.เพราะพอลิเมอร์มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่โมเลกุลแบบร่างแห ง.เพราะพอลิเมอร์มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่โมเลกุลแบบกิ่งและแบบเส้น 5)เส้นใยชนิดใดต่อไปนี้ที่เกิดราได้ง่าย ? ก.ฝ้าย ข.เรยอน ค.เส้นไหม ง.ลินิน และป่าน 6)พืชชนิดใดที่สามารถให้เ...

ยาง

รูปภาพ
ยาง ยาง (Rubber) คือ สารที่มีสมบัติยืดหยุ่นได้ ทำให้เป็นรูปร่างต่างๆ ได้ เป็นสารประกอบพอลิเมอร์ ประโยชน์ใช้ทำยางลบ รองเท้า ยางรถ ตุ๊กตายาง ประเภทของยาง 1. ยางธรรมชาติ  ได้จากต้นยางพารา น้ำยางที่ได้เป็นของเหลวสีขาว ชื่อ พอลิไอโซปริน สมบัติ  มีความยืดหยุ่น เพราะโครงสร้างโมเลกุลของยางมีลักษณะม้วนงอขดไปมาปิดเป็นเกลียว ได้ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเป็นแรงแวนเดอร์วาลส์ สมบัติเปลี่ยนง่ายคือเมื่อร้อนจะอ่อนตัวเหนียว แต่เย็นจะแข็งและเปราะ 2. ยางสังเคราะห์  เป็นพอลิเมอร์ที่สังเคราะห์ขึ้นจากสารผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่น กระบวนการวัลคาไนเซชัน  (Vulcanization process)  คือ กระบวนการที่ใช้ในการเพิ่มคุณภาพของยางธรรมชาติ ( ยางดิบ) ให้มีความยืดหยุ่นได้ดีขึ้น มีความคงตัวสูง ไม่สึกกร่อนง่าย และไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ สมบัติเหล่านี้จะยังคงอยู่ ถึงแม้ว่าอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงก็ตาม

เส้นใย

เส้นใย เส้นใย (Fibers)   คือ พอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างของโมเลกุลสามารถนำมาเป็นเส้นด้าย หรือเส้นใย จำแนกตามลักษณะการเกิดได้ดังนี้ ประเภทของเส้นใย เส้นใยธรรมชาติ  ที่รู้จักกันดีและใกล้ตัว คือ -  เส้นใยเซลลูโลส  เช่น ลินิน ปอ เส้นใยสับปะรด -  เส้นใยโปรตีน  จากขนสัตว์ เช่น ขนแกะ ขนแพะ -  เส้นใยไหม  เป็นเส้นใยจากรังไหม เส้นใยสังเคราะห์  มีหลายชนิดที่ใช้กันทั่วไปคือ       -  เซลลูโลสแอซีเตด  เป็นพอลิเมอร์ที่เตรียมได้จากการใช้เซลลูโลสทำปฏิกิริยากับกรดอซิติกเข้มข้น โดยมีกรอซัลฟูริกเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา การใช้ประโยชน์จากเซลลูโลสอะซีเตด เช่น ผลิตเป้นเส้นใยอาร์แนล 60 ผลิตเป็นแผ่นพลาสติกที่ใช้ทำแผงสวิตช์และหุ้มสายไฟ       -  ไนลอน  (Nylon) เป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์จำพวกเส้นใย เรียกว่า “ เส้นใยพอลิเอไมด์” มีหลายชนิด เช่น ไนลอน 6,6 ไนลอน 6,10 ไนลอน 6 ซึ่งตัวเลขที่เขียนกำกับหลังชื่อจะแสดงจำนวนคาร์บอนอะตอมในมอนอเมอร์ของเอมีนและกรดคาร์บอกซิลิก ไนลอนจัดเป็นพวกเทอร์มอพลาสติก มีความแข็งมากกว่...

พลาสติกรีไซเคิล

รูปภาพ
พลาสติกรีไซเคิล ( Plastic recycle)     ปัจจุบันเราใช้พลาสติกฟุ่มเฟือยมาก แต่ละปีประเทศไทยมีขยะพลาสติกจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของโลก จึงมีความพยายามคิดค้นทำพลาสติกที่ย่อยสลายทางชีวภาพ (Biodedradable) มาใช้แทน แต่พลาสติกบางชนิดก้ยังไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ ในทางปฏิบัติยังคงกำจัดขยะพลาสติกด้วยวิธีฝังกลบใต้ดิน และเผา ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมา วิธีที่ดีที่สุดในการดูแลสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับขยะพลาสติก คือ ลดปริมาณการใช้ให้เหลือเท่าที่จำเป็น และมีการนำพลาสติกบางชนิดกลับไปผ่านบางขั้นตอนในการผลิต แล้วนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ตามเดิม       สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติก ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Society of Plastics Industry ; SPI) ได้กำหนดสัญลักษณ์เพื่อบ่งชี่ประเภทของพลาสติกรีไซเคิล ซึ่งจะกำกับไว้ในผลิตภัณฑ์สินค้าที่ทำด้วยพลาสติก ดังภาพในตาราง ตาราง แสดงสัญลักษณ์เพื่อบ่งชี่ประเภทของพลาสติกรีไซเคิล ประเภทของพลาสติก ชื่อย่อ สัญลักษณ์ มอนอเมอร์ การนำไปใช้งาน Polyethylene Terephthalate PETE High Density Polyethylene ...

สมบัติของพลาสติก

ตาราง แสดงสมบัติบางประการของพลาสติกบางชนิด ชนิดของพลาสติก ประเภทของพลาสติก สมบัติบางประการ ตัวอย่างการนำไปใช้ประโยชน์ สภาพการไหม้ไฟ ข้อสังเกตอื่น พอลิเอทิลีน เทอร์มอพลาสติก เปลวไฟสีน้ำเงินขอบเหลือง กลิ่นเหมือนพาราฟิน เปลวไฟไม่ดับเอง เล็บขีดเป็นรอย ไม่ละลายในสารละลายทั่วไป ลอยน้ำ ถุง ภาชนะ ฟิล์มถ่ายภาพ ของเล่นเด็ก ดอกไม้พลาสติก พอลิโพรพิลีน เทอร์มอพลาสติก เปลวไฟสีน้ำเงินขอบเหลือง ควันขาว กลิ่นเหมือนพาราฟิน ขีดด้วยเล็บไม่เป็นรอย ไม่แตก โต๊ะ เก้าอี้ เชือก พรม บรรจุภัณฑ์อาหาร ชิ้นส่วนรถยนต์ พอลิสไตรีน เทอร์มอพลาสติก เปลวไฟสีเหลือง เขม่ามาก กลิ่นเหมือนก๊าซจุดตะเกียง เปาะ ละลายได้ในคาร์บอนเตตระคลอไรด์ และโทลูอีน ลอยน้ำ โฟม อุปกรณ์ไฟฟ้า เลนส์ ของเล่นเด็ก อุปกรณ์กีฬา เครื่องมือสื่อสาร พอลิวินิลคลอไรด์ เทอร์มอพลาสติก ติดไฟยาก เปลวสีเหลืองขอบเขียว ควันขาว กลิ่นกรดเกลือ อ่อนตัวได้คล้ายยาง ลอยน้ำ กระดาษติดผนัง ภาชนะบรรจุสารเคมี รองเท้า กระเบื้องปูพื้น ฉนวนหุ้มสายไฟ ท่อพีวีซี ไนลอน เทอร์มอพลาสติก เปลวไฟสีน้ำเงินขอบเหลือง กลิ่นคล้ายเขาสัตว์ติดไฟ เหนียว ยืดหยุ่น ไม่แตก จมน้ำ เคร...

พลาสติก

รูปภาพ
พลาสติก พลาสติก  (Plastic)  คือ สารที่สามารถทำให้เป็นรูปต่าง ๆ ได้ด้วยความร้อน พลาสติกเป็นพอลิเมอร์ ขนาดใหญ่ มวลโมเลกุลมาก สมบัติทั่วไปของพลาสติก มีความเสถียรมากในธรรมชาติ สลายตัวยาก มีมวลน้อย และเบา เป็นฉนวนความร้อนและไฟฟ้าที่ดี ส่วนมากอ่อนตัวและหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน จึงเปลี่ยนเป็นรูปต่างๆ ได้ตามประสงค์ ประเภทของพลาสติก 1. เทอร์มอพลาสติก   เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และเมื่อเย็นลงจะแข็งตัว สามารถเปลี่ยนรูปได้ พลาสติกประเภทนี้โครงสร้างโมเลกุลเป็นโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์น้อยมาก จึงสามารถหลอมเหลว หรือเมื่อผ่านการอัดแรงมากจะไม่ทำลายโครงสร้างเดิม ตัวอย่าง พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีนพอลิสไตรีน   2. พลาสติกเทอร์มอเซต   จะคงรูปหลังการผ่านความร้อนหรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งมาก ทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงก็จะแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ พลาสติกประเภทนี้โมเลกุลจะเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับกันแน่น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถนำมาหลอมเหลวได้ ตัวอย่...

การเกิดพอลิเมอร์

รูปภาพ
การเกิดพอลิเมอร์       พอลิเมอร์เกิดขึ้นจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันของมอนอเมอร์ พอลิเมอร์ไรเซชัน (Polymerization)   คือ กระบวนการเกิดสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ( พอลิเมอร์) จากสารที่มีโมเลกุลเล็ก ( มอนอเมอร์)   ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชัน 1. ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันแบบเติม  (Addition polymerization reaction) คือปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันที่เกิดจากมอนอเมอร์ของสารอินทรีย์ชนิดเดียวกันที่มี C กับ C จับกันด้วยพันธะคู่มารวมตัวกันเกิดสารพอลิเมอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้น ดังภาพ 2. ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันแบบควบแน่น  (Condensation polymerization reaction) คือปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันที่เกิดจากมอนอเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชันมากกว่า 1 หมุ่ ทำปฏิกิริยากันเป็นพอลิเมอร์และสารโมเลกุลเล็ก เช่น น้ำ ก๊าซแอมโมเนีย ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ เมทานอล เกิดขึ้นด้วย ดังภาพ

ประเภทของพอลิเมอร์

รูปภาพ
ประเภทของพอลิเมอร์  แบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้ 1. แบ่งตามการเกิดเป็นเกณฑ์  เป็น 2 ชนิด คือ            พอลิเมอร์ธรรมชาติ   เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น โปรตีน แป้ง เซลลูโลส ไกโคเจน กรดนิวคลีอิก และยางธรรมชาติ (พอลีไอโซปรีน)      พอลิเมอร์สังเคราะห์  เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากการสังเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น พลาสติก ไนลอน ดาครอน และลูไซต์ เป็นต้ น 2. แบ่งตามชนิดของมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบ  เป็น 2 ชนิด คือ      โฮมอลิเมอร์  (Homopolymer)  เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ชนิดเดียวกัน เช่น แป้ง(ประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นกลูโคสทั้งหมด) พอลิเอทิลีน PVC (ประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นเอทิลีนทั้งหมด)      เฮเทอโรพอลิเมอร์  (Heteropolymer)  เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ต่างชนิดกัน เช่น โปรตีน (ประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นกรดอะมิโนต่างชนิดกัน) พอลิเอสเทอร์ พอลิเอไมด์ เป็นต้น 3. แบ่งตามโครงสร้างของพอลิเมอร์  แบ่งอ...

พอลิเมอร์

รูปภาพ
พอลิเมอร์ พอ ลิเมอร์ (Polymer)   คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ของสารที่อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโควาเลนต์ มอนอเมอร์  (Monomer)  คือ หน่วยเล็ก ๆ ของสารในพอลิเมอร์ ดังภาพ